Year: 2020

โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1

 

เมื่อวันที่ 13 -15 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุพรรณบุรี  คุณนิภาวรรณ ทองนวล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 102 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงาน กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 1 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดเชียงรายและพะเยา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำทีมโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

จุดที่ 3 ณ จังหวัดนครปฐมและราชบุรี  นำทีมโดย ดร.สมพร  สามทองกล่ำ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563

ดร.อโณทัย   ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงเรียนหนองบัว สพม.เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ โดยความร่วมมือระหว่าง International Robot Olympiad Committee ประเทศเกาหลีใต้ Hong Kong Robotic Olympic Association (HKROA) เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย และภาคีเครือข่ายด้านหุ่นยนต์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับประเทศในรายการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 หรือรายการ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020  ภายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020 และกิจกรรมการประกวดการคัดเลือกนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านหุ่นยนต์ Best Practices Robotic Awards

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 17  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานพิธีเปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 2 เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่  สพม. เขต 1  สพม. เขต 2  สพม. เขต 3   สพม. เขต 9   สพม.เขต 10   สพม.เขต 15   สพม.เขต 22   เขตละ 4 โรงเรียน  จังหวัดที่สนใจ คือ  สพป.ลำปาง เขต 2  สพป.ขอนแก่น เขต 3  และ สพป.แพร่  เขต 1  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักทดสอบทางการศึกษาและสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

 

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 16  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการที่ปรึกษาที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรและพิธีปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เป็นครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่ สพป.กทม.  สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2  สพป.นครปฐม เขต 1 และ เขต 2   สพป. เพชรบุรี เขต 1 และเขต 2  สพป.นครพนม เขต 1 และ เขต 2  สพป.นราธิวาส เขต 1  เขต 2  และเขต 3  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักติดตามและประเมินผลการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

 

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564

การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
รับสมัครผ่านโรงเรียน วันที่ 2  ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564
ทางเว็บไซต์ www.obecimso.net/web64/

การประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคได้จัดการประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูมศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของโครงการฯ และการนำระบบสารสนเทศ (lnfo) มาใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเป้าหมายทั้งรุ่นที่ ๑ และ ๒

โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่อีกด้วย

 

ติดตามข่าวสาร เพิ่มเติมได้ที่ -> https://web.facebook.com/LearningOBEC/

การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​

วันที่​ 12​ พฤศจิกายน​ 2563​  กลุ่มวิจัยและพัฒนา​องค์กร​แห่งการเรียนรู้​ สำนัก​พัฒนา​นวัตกรรม​การจัดการศึกษา​ โดยภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง​ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนา​นวัตกรรม​การ​จัดการ​ศึกษา​ ตำแหน่ง​ผู้เชี่ยวชาญ​ด้านการบริหารการจัดการศึกษา​ ​เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม​ และดร.จักรพงษ์​ วงค์​อ้าย​ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป​ ชี้แจงวัตถุ​ประสงค์​และภาพรวมในการดำ​เนิน​งาน​ การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​ ระหว่าง​ วันที่​ ​12​-13​ พฤศจิกายน​ 2563 ณ​ ห้องประชุม​ TEMPO​ GRAND​ ​ณ​ โรงแรม​นารา​ กรุงเทพ​มหานคร

 

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕)และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่ 2

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่2 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่จะดำเนินการโครงการคอนเน็กซ์อีดีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีนายณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสาระการประชุมจะเป็นหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตาม 5 ยุทธศาสตร์ ภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดีและพิจารณาข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ในการสนับสนุนการสร้าง Value Chain ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ(Competency-based) จากกรณีการถอดบทเรียนจากโครงการ Connext ED และ Partnership School

การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในการประชุมการวิเคราะห์ความเชท่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นวิเคราะห์วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคและโครงการ Connext ed (SMS) ในการบูรณาการข้อมูลเพื่อการดำเนินงานต่อในอนาคต

การประชุมชี้แจงเพื่อจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นประธานในการประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้กลุ่มงานรับทราบถึงวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของงบประมาณตามแผนงาน ในแต่ละโครงการที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รับผิดชอบ และสอดคล้องตามนโยบายของเลขาธิการ กพฐ. โดยมีนักศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ ๒๗ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังแนวทางด้วย

ประธานได้ทบทวนหลักการเขียนแผน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณางบประมาณ ตามนโยบาย ซึ่งกำหนดโดยสำนักนโยบายและแผนการดำเนินงานต้องสอดคล้องกัน เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบาย 6 ความ ได้แก่ 1) ความครบถ้วน 2) ความถูกต้อง 3) ความเหมาะสม 4) ความจำเป็น 5) ความเชื่อมโยง และ 6) ความสอดคล้อง

ทั้งนี้ต้องยึดตามนโยบายชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำหรับแผนฯ สพฐ. ให้ใช้นโยบายและจุดเน้นเดิมไปก่อน หลักการเขียนโครงการให้อธิบายถึงสิ่งจำเป็น
ที่ต้องดำเนินการ ถ้าไม่ดำเนินการ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง สามารถอธิบายได้ทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงเรียน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ให้กลุ่มงานเตรียมจัดทำคำขอ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในขั้นตอนต่อไป