วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น
Month: กันยายน 2020
ประชุมรับฟังความเห็นภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ “คุณธรรมกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติในสังคมไทยปัจจุบัน”
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังความเห็นภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ “คุณธรรมกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติในสังคมไทยปัจจุบัน” ในวันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องแซฟไฟร์ 204-205 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี ในที่ประชุมมีการบรรยายพิเศษ “ปรากฏการณ์คุณธรรมในสังคมไทย” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรมและการนำเสนอบทบาทของศูนย์คุณธรรมต่อการส่งเสริมคุณธรรมในอนาคต โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี
ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม รวมถึงการระดมความเห็นต่อสถานการณ์วิกฤติด้านคุณธรรมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละกลุ่มเครือข่าย ซึ่งแบ่งเป็น 7 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาครัฐ กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาคธุรกิจ เอกชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน ครอบครัว เด็กและเยาวชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรทางศาสนา กลุ่มเครือข่ายองค์กรทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายองค์กรสื่อมวลชน และกลุ่มแกนนำจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมนำร่อง 10 จังหวัด โดยสถานการณ์วิกฤติที่กลุ่มเครือข่ายองค์กรการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ได้แก่ ปัญหาไฟป่า(ภาคเหนือ) สถานการณ์โควิด-19 และปัญหาการใช้สื่อโซเชียล
เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายให้บุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้มีการจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับในปี 2563 สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานวันดินโลก “Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ระหว่างวันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่
เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6
บรรยากาศการจัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุน รุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020/2021)
โครงการเปิดเวทีไทยก้าวไกลได้จัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุนรุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020 / 2021) เพื่อรับทุนการศึกษาระดับ A – Level / Foundation / High Scool และมีสภาใน การศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษและอเมริกา
การสอบดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 2563 ณ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยโดยมีนักเรียนในเครือสพฐ. จากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมการสอบกว่า 200 คน
**************************
การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 11
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สำนักงานพระสอนศีลธรรม และส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 4 – 6 กันยายน 2563 ณ หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 4 – 5 กันยายน 2563 ได้มีการอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง “ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียน
วิถีพุทธ” ให้กับ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ
ชั้นนำ รุ่นที่ 11 จำนวน 300 คน จาก 149 โรงเรียน
วันที่ 6 กันยายน 2563 พระสุวรรณเมธาภรณ์,ผศ. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ร่นที่ 11 จำนวน 149 โรงเรียน
ทั้งนี้ ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรม อีกทั้ง ได้รับเกียรติจาก ดร.อนันต์ พันนึก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 มาร่วมแสดงความยินดี
ประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม”การจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess”
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ,นางสาวเสาวนีย์ ทิพย์ฤกษ์,นางสาวจารุวรรณ กาบซ้อน และนางสาวทิฆัมพร มาลาล้ำ นักวิชาการศึกษา ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๓๐ น. ณ ห้องประชุม หมายเลข ๓๐๖ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) เพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับพิจารณาแนวทางการจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๑ -๒๒ ปี GEN –Z นำเสนอเรื่องราวของความดีในท้องถิ่นของตนซึ่งที่ประชุมได้มีการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมในครั้งนี้ คือ การจัดประกวดคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่นำเสนอความดี ตามอัตลักษณ์ของคนไทยทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยผสมผสานระหว่างความดีและเผยแพร่การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วยและในส่วนของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้นำเสนอโครงงานคุณธรรมของนักเรียน ซึ่งชนะการประกวดในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะอนุกรรมการฯ ทั้งนี้ โครงงานคุณธรรมของนักเรียน เป็นกิจกรรมการทำความดีภายในชุมชนของตนเอง และมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงงานคุณธรรมจากทุกจังหวัดของประเทศไทย และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม ได้แสดงความสามารถและเผยแพร่การทำความดีผ่านสื่อต่าง ๆคณะอนุกรรมาธิการฯ จึงได้รับข้อเสนอดังกล่าวไว้พิจารณาและนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
กลุ่ม วคส. สนก.
เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกเพื่อรับทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ THE C21 SCHOLARSHIP (OBEC) Y2020/2021
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกเพื่อรับทุนโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
รุ่นที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ THE C21 SCHOLARSHIP (OBEC) Y2020/2021
รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกรับทุน 100% <<< DOWNLOAD >>>
รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือกรับทุน 50% <<< DOWNLOAD >>>
*** นักเรียนผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก ควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มเวลาสอบไม่น้อยกว่า 30 นาที
ชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
วันนี้ (2 กันยายน 2563) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านการพัฒนานักคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Creating Innovators) รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงงานขยายผลของโครงการฯ ดังกล่าว เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานนวัตกรรมที่เน้นวิศวกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ/ลม) และ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยบอร์ด KidBright ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” จำนวน 40 คน (20 โรงเรียน)