วันที่ 21 สิงหาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี เป็นวิทยากร บรรยายเรื่อง การจัดการศึกษาในเขตพื้นที่นวัตกรรมและพื้นที่พิเศษ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สพท. ระยะที่ 1 ณ โรงแรมวังรี รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
Month: สิงหาคม 2020
โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 13
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อเครือข่ายวิถีพุทธ จัดประเมินออนไลน์ โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 13 จำนวน 18 โครงงาน เพื่อยกระดับศักยภาพของโครงงานคุณธรรมให้สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2563 ณ วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์ จำกัด ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
การประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรและจัดทำคู่มือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียน สู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs)
นิเทศ ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา “สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ สพป.นครสวรรค์ เขต 1
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ และคณะ ร่วมนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา “สืบสานศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย
วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบกลุ่มโครงการพิเศษ ( คพศ.) เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร
ซึ่งในงานนี้จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (กลช.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย : การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) เมื่อวันอังคารที่่ 19 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยมี ดร.จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม นางสาวสุกัญญา วิศาล ผู้อำนวยการกลุ่มการขับเคลื่อนนโยบายและกลไก เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยการจัดประชุมได้มีการนำเสนอร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ชุ่มน้ำ และการเสวนา “บทเรียนและความสำเร็จของการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ” โดย ดร.เพชร มโนประวิตร นักวิชาการอิสระ นายยรรยง ศรีเจริญ WWF ประเทศไทย และ ผู้แทนจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ต่อจากนั้นได้มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ซึ่งมีผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากหน่วยงานที่กำกับดูแลแรมซาร์ไซต์ และเจ้าหน้าที่ สผ. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงการมีโครงการ การสร้างความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานแห่งชาติ
ที่มา : https://www.facebook.com/onep.gov.th
เทปการประชุมย้อนหลัง https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1955042178136077&id=101073878233473
เว็บไซต์หลัก : http://wetland.onep.go.th/ramsarsites.html และ https://www.ramsarsitethailand.com
Train the trainer SDGs
Train the trainer SDGs … บรรยายพิเศษ SDG Goals สู่สถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน วิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ.
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ที่ Obec YoungLeaders SDGs
OBEC YoungLeaders SDGs
โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
วันที่ 20 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. 256๓ (THE C21 SCHOLARSHIP (OBEC) Y2020/2021) โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทย ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจําประเทศไทย ผู้บริหารโรงเรียน และครู จากโรงเรียนชั้นนำของไทย จำนวน 54 คน การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายธีร์ ภวังคนันท์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม สพฐ. เป็นประธานในการเปิดประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้มีนักเรียนสมัครเข้ารับการคัดเลือกแล้ว มากกว่า 70 คน โดย สพฐ.จะปิดการรับสมัครผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. 2563 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2563 และดำเนินการสอบคัดเลือกเป็นลำดับต่อไป ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเข้าดูรูปภาพได้ที่ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1YxfJYqS9cWOJhqhi1HnA5rZaWQgJEcRP?usp=sharing
Live สด การประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1
การประชุมชี้แจงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2563 The C21 Scholarship (OBEC) 2020/2021
ชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School)
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้กับโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School) ต้นแบบ จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดกลางบางแก้ว สพป.นครปฐม เขต 2 โรงเรียนวัดปรางแก้ว สพป.สงขลา เขต 2 โรงเรียนบ้านท่าอ่าง สพป.นครราชสีมา เขต 2 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สพป.เชียงราย เขต 2 โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 สพม.13 และโรงเรียนมัธยมป่ากลาง สพม.37 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดังกล่าว
การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” ตามศักยภาพผู้เรียนที่มีความหลากหลาย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียน จำนวน 2 กลุ่ม คือ ครูและผู้บริหารของโรงเรียน จำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศที่หลากหลายลักษณะ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก เป็นต้น และโรงเรียนที่ดำเนินการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ ในการนำร่างคุณลักษณะของโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศสู่การปฏิบัติตามสภาพจริง พร้อมสอบถามประเด็นความต้องการเพิ่มเติมในพื้นที่เป้าหมาย ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอนุชา บูรพชัยศรี) นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รับชมเทปการประชุมย่อนหลังได้ คลิกที่นี่