Year: 2019

ศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เดินทางไปศึกษาการดำเนินงานจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการจัดทำวารสาร e – Journal ที่ผ่านการประเมินคุณภาพ และอยูในฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานจัดทำระบบการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบ e – Journal ต่อไป

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562 ดร.ธัญนันท์  แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020 ณ ห้องวายุภักษ์ 5 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย

วันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรม Active Learning ให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562 นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงเปิดงานวันดินโลก ปี 2562 ณ ศูนย์ศีกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี

ขอขอบคุณภาพจาก Facebook fanpage : สำนักงาน กปร.

วันสิ่งแวดล้อมไทย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่า หากพื้นที่ใดมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ย่อมต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เสื่อมโทรมลง หรือหมดไปอย่างรวดเร็ว

ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลที่เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ใจความตอนหนึ่งกล่าวถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้…

“วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่า เมืองไทยนี้อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือจะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถ้าคำนวณดูน้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมากแล้ว ที่ใช้จริง ๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำ น้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณอย่างที่เราใช้สำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรมทั้งหมดนี้ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่า น้ำที่สะอาด

น้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลส่วนใหญ่ ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้แล้ว นอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้นก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้น นี่เป็นอีกโครงการหนึ่งที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ถ้าไม่จัดการโดยเร็วเราจะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวัง

ถ้าเรามีน้ำแล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างดีอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย “ยังให้” ใช้คำว่า “ยังให้” ก็หมายความว่า ยังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ ไม่ใช่ไม่เหมาะ ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นสวนเป็นนา กลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้ ทำได้”

            …จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยต้องพบเจอ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นในการเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ที่หันมาร่วมมือกันริเริ่มโครงการอนุรักษ์ เพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในรูปแบบการจัดตั้งองค์กร มูลนิธิ ชมรม และสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีจิตสำนึกในการเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

จากนั้น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เสนอ โดยมุ่งหวังให้วันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกภาคส่วนตระหนักว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือในการปกป้องและรักษาให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศคงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดไป

กระทั่งในเวลาต่อมา เมื่อถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของวันสิ่งแวดล้อมไทย ก็จะมีการประสานกับหน่วยงาน หรือองค์กรพัฒนาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น การจัดนิทรรศการ การเสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น การประกวดภาพวาด และโครงการอื่น ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สืบค้นจาก เว็บไซต์กระปุกดอทคอม https://hilight.kapook.com/view/94049  เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562

บุคลากรกลุ่ม วนส.สนก. เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 (TELS 2019)

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี  (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 (Thailand’s Education Leader Symposium 2019) ที่งาน AKSORN Teaching Forum : TELS 2019  ณ อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี  โดยมี ดร.ณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมกล่าวปาฐกถา และภายในงานยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อาทิ คุณตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน)  Dr. Akil E. Ross, Sr. ผู้อำนวยการ Chapin High School ประเทศสหรัฐอเมริกา  คุณจุน อุสะคะ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาการศึกษานานาชาติ จากเบนเนสเซ่ คอร์ปเปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น  เป็นต้น ร่วมบรรยายและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงถ่ายทอดแนวคิด วิสัยทัศน์ ภายใต้แนวคิด “4REs : The Resolve for Enhancing Thailand’s Education 4.0” ได้แก่ Reform Redefind Rethink และ Reshape เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตลอดจนผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา นอกจากนี้ยังมีบูธสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้และการแสดงผลงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

 

การประชุมปฎิบัติการยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง และการสื่ออสารผ่านกิจกรรมโต้วาที ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดการประชุมปฎิบัติการยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดขั้นสูงและการสื่ออสารผ่านกิจกรรมโต้วาที ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมแนวคิดและยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดชั้นสูงและการสื่อสารผ่านกิจกรรมการโต้สาระวาทีและเพื่อเตรียมการจัดการพัฒนานักเรียนตามหลักสูตร สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ของโครงการโรงเรียนประชารัฐ
ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ

ทีมหุ่นยนต์ สพฐ. รร.แปลงยาวพิทยาคม จ.ฉะเชิงเทรา สพม.เขต 6 นำเสนอความสำเร็จจากงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

วันที่ 29 พ.ย. 62 เวลา 13.00 น. ทีมหุ่นยนต์ รร.แปลงยาวพิทยาคม สพม. เขต 6 (ฉะเชิงเทรา) ร่วมนำเสนอผลงานและความสำเร็จจากการแข่งขันหุ่นยนต์ ในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ผ่านมา ในรายการบ่ายนี้ มีคำตอบ ทางช่อง 9 อสมท.

ชมรายการสดย้อนหลัง  https://www.facebook.com/1333915556668484/videos/816852362094597/

ลงพื้นที่ศึกษาสภาพและจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีการควบรวมในจังหวัดอุดรธานี

เมื่อวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน 2562 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพและจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีการควบรวมในจังหวัดอุดรธานี โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 13 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านท่าม่วงเวียงคำ โรงเรียนบ้านสวนมอนคำ อ.กุมภวาปี โรงเรียนบ้านนายูง โรงเรียนบ้านคำดอกไม้ โรงเรียนบ้านหนองกุงปาว โรงเรียนบ้านป่าไร่ โรงเรียนบ้านคำม่วง อ.ศรีธาตุ โรงเรียนบ้านคำเต้าแก้วหินลาด โรงเรียนบ้านตาดโตนไร่เดชา โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว โรงเรียนบ้านโคกล่าม อ.โนนสะอาด โรงเรียนบ้านหนองประเสริฐ และโรงเรียนบ้านหนองหว้า อ.หนองแสง ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนและพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 10 ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ปี 2562 ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 10 ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ปี 2562 ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562

ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

สพฐ. ทส. และจุฬาฯ หารือเพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ. ให้เกียรติเป็นประธานในการพูดคุย และเปลี่ยนแนวคิดด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ของ สพฐ. ระหว่าง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก) นายอลงกต  ศรีวิจิตรกมล ผู้อำนวยการกลุ่มสิ่งแวดล้อมศึกษา กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม(ทส.) ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก อาจารย์คณะคุรุศาสตร์ ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม นางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม ผู้แทนศูนย์ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สพฐ. ได้ประชุมหารือร่วมกันในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อกำหนดแนวทาง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

ในการประชุมครั้งนี้ สพฐ. และ ทส. ได้พูดคุยถึงแผนการดำเนินงานที่ทำร่วมกัน ได้แก่ โรงเรียนที่ดำเนินโครงการ  Zero waste school ซึ่งในการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ได้แต่งตั้งให้มีคณะกรรมการออกประเมินโรงเรียนร่วมกัน อีกทั้งมีแผนการปรับแนวทางการดำเนินงาน คู่มือการจัดกิจกรรม ซึ่ง ทส. จะได้การกำหนดห้วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป โดยขอให้ ทาง สพฐ.ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย

สำหรับสื่อ เอกสารที่ทาง ทส. ได้จัดทำมีการเผยแพร่และสามารถ Download ได้ที่ http://www.deqp.go.th/service-portal/environmental-media-system/list2/?media_subtype_id=2&curp=1#tabA

ขอเชิญชวนร่วมงาน “วันดินโลก” 5 – 8 ธันวาคม 2562

ขอเชิญชวนร่วมงาน “วันดินโลก” และร่วมเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562

“วันดินโลก” จัดขึ้นระหว่างวันที่  5 – 8 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ภายใต้แนวคิด “ปกป้องอนาคต ลดการชะล้างดิน : Stop Soil Erosion, Save our Future” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” (Humanitarian Soil Scientist Award) พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก

โดยภายในงานจัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรดินเพื่อการเกษตรอย่างครบวงจร ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์หน้าดินให้คงความสมบูรณ์ พร้อมร่วมฟังเสวนาระดับนานาชาติ และนิทรรศการวิชาการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นในส่วนภูมิภาค สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดร่วมกับส่วนราชการต่างๆ และหน่วยงานในท้องถิ่นร่วมกันจัดกิจกรรมวันดินโลก ตลอดช่วงเดือนธันวาคม 2562 เพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนรับทราบสถานการณ์ทรัพยากรดิน เกิดความตระหนักในการร่วมกันปกป้องดูแลรักษาทรัพยากรดิน ทั้งนี้ กลุ่มสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership – GSP) ได้จัดกิจกรรมวันดินโลกเป็นประจำทุกปี สำหรับปีนี้กำหนดหัวข้อ “STOP SOIL EROSION, SAVE OUR FUTURE : ปกป้องอนาคต ลดการชะล้างดิน” ซึ่งเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมขององค์กร และบุคคล สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันและลดการชะล้างการพังทลายของดินเพื่อรักษาระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์

ภายในงาน มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น นิทรรศการพระราชกรณียกิจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นิทรรศการพระราชกรณียกิจเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต แสดงภาพ 3 มิติ การจัดการดินและที่ดิน ตั้งแต่ภูเขาจนถึงทะเล เพื่อให้เห็นภาพการป้องกันชะล้างพังทลายของดิน

การจัดประชุมวิชาการทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เสนอผลงานเด่น ความสำเร็จของการปกป้องดูแลดิน และการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างหมอดินอาสา เกษตรกรและนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการปกปักรักษาดิน มิให้เสื่อมโทรมจากการใช้ที่ดินของมนุษย์ และในพิธีเปิด จัดให้มีการมอบรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ประเทศไทย และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations-FAQ) ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อมอบแก่บุคคล องค์กร หรือประเทศ ที่รังสรรค์ผลงานการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินให้เป็นที่ประจักษ์ ในปี 2562 จะได้มีพิธีประกาศรางวัลและเข้ารับรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โดยในปีนี้ผู้ที่ได้รับรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award  ได้แก่ หน่วยงาน Costa Rican Soil Science Association (ACCS) ของสาธารณรัฐคอสตาริกา รวมทั้ง การประกวดวาดภาพกระดานดำ ประกวดถ่ายภาพ จำหน่ายผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์ สินค้าเฉพาะของโครงการพระราชดำริและกิจกรรมเดิน Trail วันดินโลก @ เขาชะงุ้ม ตามรอยพระบาทบนแผ่นดินของพ่อ ในวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562 เวลา 06.30-09.30 น.ระยะทาง 2 กม. เพื่อขึ้นเขาไปชมพลับพลาที่ประทับทรงงานและชมทัศนียภาพที่ปัจจุบันมีความสวยงามในรูปแบบเบิร์ดอายวิวสามารถมองเห็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ที่เกิดมาจากพระราชดำริ “ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สามารถเปลี่ยนพื้นที่เขาหัวโล้นให้เป็นป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ในวันที่ 6 ธันวาคม ยังมีการแสดงพระธรรมเทศนา “ภูมิกถา” ณ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี โดยพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งเป็นกัณฑ์เทศน์ เกี่ยวกับดินและวันดินโลก ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระมหากรุณาธิคุณ ให้มหาเถรสมาคมดำเนินการ เพื่อให้วัดทั่วประเทศไทยได้ใช้แสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธศาสนิกชน รวมทั้งจัดให้วัดทั่วประเทศได้แสดงพระธรรมเทศนาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.ldd.go.th/WEB_WorldSoilDay/Award_WSD.html 

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/central/1712821?fbclid=IwAR3L4Q3Rz3K8NFvtc8G-hmwHf3arbMXsvSScPcw9oPkAJjtKeHBKLqcl4ms