Month: ตุลาคม 2019

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. – สพฐ. ยุวชน ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562

การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. สร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. ปลุกสร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 156 โรงเรียนพร้อมเป็นต้นแบบเผยแพร่ขยายผลอย่างต่อเนื่อง

กฟผ. ร่วมกับ สพฐ. ประกาศผลการดำเนินงานของครูและเยาวชนในเครือข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว หวังปลูกฝังทัศนคติการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้ขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2562) นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนางสาวสิริมา หมอนไหม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2018 ให้แก่โรงเรียน เยาวชนและครูต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ.อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

 

**** ติดตามข่าวสาร กด like กด shared กดติดตาม ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ที่ https://www.facebook.com/EESDinThailand

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพมหานคร โดยมีที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (นางสุกัญญา งามบรรจง) พบปะและให้แนวคิดการขับเคลื่อนกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning” พร้อมกันนี้มีคณะผู้แทนจากภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ นายวัฒนชัย วินิจจะกูล (หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park) นางสาวตติยา สาครพันธ์ (หัวหน้ากองศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.) นางวรรณา อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการแบบ Active Learning) เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้แทนภาคีเครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม พัฒนาสื่อนวัตกรรม และสร้างช่องทางการนำเสนอนิทรรศนวัตกรรม Active Learning อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

“สพฐ. เดินหน้าโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เชิญ ผอ.สพป. ร่วมระดมความคิด”

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

          สืบเนื่องจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคม และการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และผ่านการพิจารณาคัดเลือก กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ ผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ตามลำดับ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,255 โรงเรียน นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอทุกอำเภอ และโรงเรียนพื้นที่พิเศษ (STAND ALONE) ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาไทยในเชิงระบบอย่างแท้จริง

             เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ให้ครอบคลุมตามความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ และมีการดำเนินงานโครงการไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2562 ในวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กรุงเทพมหานคร

 

เว็บไซต์โครงการ :  http://www.1tambon1school.go.th/

Line โครงการ : 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

ติดต่อสอบถาม สแกน QR CODE

ขอแสดงความยินดีกับยุวทูตความดีที่ได้รับคัดเลือกไปพัฒนาโลกทัศน์ ณ รัฐคูเวต ระหว่างวันที่ 7 – 14 มกราคม 2562

ผู้แทนนักเรียนในโครงการยุวทูตความดีฯ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน ผู้ซึ่งมีความตื่นรู้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างชาญฉลาดได้รับคัดเลือกเป็น “ผู้แทนเยาวชนไทยไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเรียนในรัฐคูเวต ระหว่างวันที่ 7 – 14 มกราคม 2562” คือ เด็กหญิงโซเฟีย บือชา เด็กชายฟารฮานคาน โมอัมเม็ดซาริน จากโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก สพป.นราธิวาส เขต 2 เด็กหญิงอลิน อากาฌา อามิน โรงเรียนอนุบาลยะลา สพป.ยะลา เขต 1 เด็กชายวรัชญ์ วัฒนานิกร โรงเรียนอนุบาลปัตตานี สพป.ปัตตานี เขต 1 เด็กชายพีระภัทร  รามจันทร์ โรงเรียนบ้านควนประ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 และเด็กชายวรโชติ ทวีกิจเจริญชัย โรงเรียนธัญญสิทธิศิลป์ สพป.ปทุมธานี เขต 2 เดินทางพร้อมด้วยผู้แทนครูในโครงการฯ จำนวน 1 คน คือ นางสาวฐานิยา งามศิริ ครูโรงเรียน วัดดอนทอง สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโลกทัศน์และต่อยอดองค์ความรู้ของยุวทูตความดีให้กว้างไกล รอบรู้ รอบด้าน รวมถึงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง การเสริมสร้างประสบการณ์ครั้งนี้มูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ รัฐคูเวต ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการพัฒนา โลกทัศน์ของยุวทูตความดีตลอดการเดินทาง

รับสมัครโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก เข้าร่วมโครงการการเรียนรู้สมองกลฝังตัว สร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ INTERNET OF THINGS

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ลแะเทคโนโลยี (สวทช.) ร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EECi) กิจกรรมการเรียนรู้สมองฝังตัว สร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ Internet of Things โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EECi) จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้มีความสามารถทำโครงงานสมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright มีความสามารถออกแบบและสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และมีความสามารถในการเข้าถึง NETPIE (Cloud Platform for Internet of Things) เป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ในกลุ่ม Auto Tech และ Digital Tech

รับสมัครและคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาครูและนักเรียนตามเงื่อนไขข้อกำหนดของโครงการฯ โดยกรอบข้อมูลลงในแบบตอบรับ Online : https://goo.gl/forms/jU7AXJSAYCBMx5zJ3 ภายในวันที่ 11มกราคม 2562

เอกสารแนบ

สพป.สพม. ว27

 

QR Code

ส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

คำชี้แจง : เรียนผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ขอความอนุเคราะห์ดำเนินการดังนี้

1. ขอให้ สพป. ดำเนินการส่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561

2. หากการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด ไม่สามารถพิจารณาแล้วเสร็จได้ก่อนวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ขอให้ สพป. กรอกข้อมูลโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกที่ผ่านคณะกรรมการ ระดับอำเภอ เข้าสู่ระบบก่อน และเมื่อคณะกรรมการ ระดับจังหวัด พิจารณาและรับรองรายชื่อโรงเรียนแล้ว ให้ Upload เอกสาร (ไฟล์ PDF) ระดับจังหวัด เพิ่มเติมในภายหลัง (โดยใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก)

3. หากมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกในการพิจารณาของคณะกรรมการ ระดับจังหวัด หลังจากกรอกข้อมูลในระบบไปแล้ว ขอให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบและแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมาที่ E-mail : innoobec.qschool@gmail.com

4. หลังจากผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ขอให้ สพป. ดำเนินการสรุปรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก เสนอ สพฐ. โดยจัดส่งเอกสาร มายัง โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 เขตดุสิต กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 10300 (ส่วนเอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และเอกสารประกอบการพิจารณาอื่นๆ ให้เก็บเป็นหลักฐานไว้ที่ สพป.)

5. หากมีข้อคำถามสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 โทร 02 288 5878 โทรสาร 02 288 5886 E-mail : innoobec.qschool@gmail.com และ line square โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตาม QR code ด้านล่างนี้

ขั้นตอนการกรอกข้อมูล

1. ดาวน์โหลดไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียน จากขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม หรือในขั้นตอนที่ 2 ส่งข้อมูลออนไลน์

2. ทำการกรองข้อมูลโรงเรียนเฉพาะโรงเรียนในสังกัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ขอให้คงรูปแบบ EXCEL ตำแหน่งของคอลัมน์ไว้ จังหวัด>สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา>อำเภอ>ตำบล>รหัสกระทรวง>โรงเรียน)

3. Upload ข้อมูลไฟล์ EXCEL รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก

4. Upload (ไฟล์ PDF) เอกสารรับรองโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด (หากเอกสารระดับจังหวัดยังไม่แล้วเสร็จ สามารถ upload เพิ่มเติมได้ในภายหลัง)

5. กรอกรายละเอียดผู้ให้ข้อมูล แล้วกดส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ

6. หากต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูล ให้ใช้ลิงค์ที่ส่งไปที่ E-mail ที่ใช้ในการกรอกข้อมูลครั้งแรก

 

เข้าสู่ระบบกรอกข้อมูลตามลิงค์ด้านล่างนี้

http://203.159.154.241/qualityschool/?page_id=19

 

ขอเชิญรับฟังการประชุมทางไกล (CONFERENCE) เพื่อมอบนโยบายการรณรงค์การจัดการขยะ ในหน่วยงานและสถานศึกษา

ขอเชิญรับฟังการประชุมทางไกล (Conference) เพื่อมอบนโยบายการรณรงค์การจัดการขยะ ในหน่วยงานและสถานศึกษาในวันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. รับชมทาง OBEC Channel
 
ดาวน์โหลดหนังสือราชการแจ้ง คลิก https://drive.google.com/file/d/1AvIL5PaDxqYsHrUilO1SbVIslmy_i06B/view?usp=sharing

แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)

ตามที่ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ซึ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง โดยพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็น “โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล” ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อม ในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งเป้าหมาย คือ โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นต้นแบบ ที่มีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นการสร้างโรงเรียนให้มีความพร้อมในด้านการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ โรงเรียนกลายเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน คนในชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของตลอดจนสามารถสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นหลักประกันกับชุมชนว่า โรงเรียนคุณภาพเหล่านี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับความรู้ กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการธำรงตน ดำรงชีวิตในการเป็นพลเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยขั้นตอนแรก สพฐ. ได้การดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้ว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 และได้เริ่มให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้    ตามเอกสารที่แนบ ระยะเวลาในดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เริ่มดำเนินการคัดเลือกระหว่างวันที่ 11 – 28 ธันวาคม 2561 และกำหนดส่งรายชื่อโรงเรียนวันสุดท้าย ในวันที่ 28 ธันวาคม 2561

เอกสารดาวน์โหลด

แนวทางการดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ)

แบบฟอร์มโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

เด็กไทยเจ๋ง คว้า 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ SPECIAL AWARDS ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ IEYI 2018 ที่ประเทศอินเดีย

เด็กไทยเจ๋ง คว้า 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ Special Awards ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ IEYI 2018 ที่ประเทศอินเดีย

วันที่ 21 ตุลาคม 2561 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.ได้ส่งคณะนักเรียนไทยเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors 2018 (IEYI 2018) ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย จำนวน 9 ทีม รวม 15 คน ผลปรากฏว่านักเรียนไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลจากการประกวดได้ครบทุกทีม จำนวน 2 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 5 รางวัลพิเศษ Special Awards รวมทั้งสิ้น 12 รางวัล

 

สำหรับรางวัลเหรียญทอง 2 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “ภาชนะไบโอมิวซิเลจคอมพาวด์” โดย นางสาวกาญจนา คมกล้า จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี / ผลงาน “แคปซูลข้าวสารดูดความชื้น” โดย นางสาวศิริมา ศรีเมฆ และนางสาวสุพิชญา แหลมผึ้ง จากโรงเรียนปราจีนกัลยาณี จังหวัดปราจีนบุรี

รางวัลเหรียญเงิน 3 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “เครื่องปอกเปลือกเงาะ” โดย เด็กหญิงใบเตย สินนอก และเด็กหญิงวิววิภา แสนซื่อ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 จังหวัดชัยภูมิ / ผลงาน “ถุงกระดาษดูดซับเอทิลีนและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้” โดย นางสาวณชา ไชยศิริ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก / ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดย นางสาวปัณณพร การกลจักร และนางสาวกนกภรณ์ ปรีชาธรรมรัช จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

รางวัลเหรียญทองแดง 2 เหรียญ ได้แก่ ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยเทนมกระป๋องแบบเพิ่มแรงดัน” โดยนางสาวกัญยาณี จันทร์ชู และนางสาวมณีรัตน์ แก้วโคกหวาย จากโรงเรียนคลองแดนวิทยา จังหวัดสงขลา / ผลงาน “เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่” โดย นายกษิดิ์เดช สุขไกว จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

นอกจากนี้ นักเรียนไทยยังได้รับรางวัลพิเศษ Special Awards จำนวน 5 รางวัลอีกด้วย ได้แก่ ผลงาน “เครื่องปอกเปลือกเงาะ” โดย เด็กหญิงใบเตย สินนอก และเด็กหญิงวิววิภา แสนซื่อ จากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 19 จังหวัดชัยภูมิ ผลงาน “เครื่องตรวจสุขภาพอัจฉริยะผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย” โดย นางสาวกานต์พิชชา อัศววินิจกุลชัย และนางสาวณัฐกุล เตชะพิพัฒน์ชัย จากโรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพมหานคร / ผลงาน “อุปกรณ์ช่วยสอดแผ่น Detector ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดย นางสาวปัณณพร การกลจักร และนางสาวกนกภรณ์ ปรีชาธรรมรัช จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร / ผลงาน “Open Up” โดย นางสาวเข็มอัปสร รัชโน และนางสาวณัฐติยา กัลยาณ์ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร / ผลงาน “เนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่” โดย นายกษิดิ์เดช สุขไกว จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

สำหรับการจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2018) จัดการแข่งขันโดย Foundation for Glocal Science Initiatives (FGSI) ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม 2561 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เป็นการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ระดับนานาชาติที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี และมอบรางวัลให้แก่ผู้มีผลงานที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม โดยในปีนี้มีประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดงและประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย และไทย

ทั้งนี้ คณะนักเรียนไทยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2561 นี้ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 316 เวลา 05.25 น. ณ สนามบินสุวรรณภูมิ