ผลการดำเนินงาน 2560 – 2562

ผลการดำเนินงาน 2562 : โครงการสร้างจิตสำนึกและความรู้ในการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แผนงานบูรณาการ การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม 

(กรมควบคุมมลพิษ เจ้าภาพแผนงานบูรณาการ)

ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1

1) เชิงปริมาณ

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนโรงเรียนแกนนำค่ายห้องเรียนสีเขียวและโรงเรียนสีเขียว
  • ดำเนินการจัดสรรงบประมาณโครงการบริหารจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโรงเรียน ชุมชนบนพื้นที่เกาะอาดัง จังหวัดสตูล (กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเกาะอาดัง)
  • การรณรงค์ Kick off ลดขยะ และคัดแยกขยะมูลฝอย ในหน่วยงาน

2) เชิงคุณภาพ

  • ได้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดค่ายห้องเรียนสีเขียวและโรงเรียนสีเขียว
  • มีการดำเนินการร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในด้านการลดขยะและสร้างจิตสำนึก
  • เป็นการสร้างจิตสำนึกในการรณรงค์การคัดแยกขยะในหน่วยงาน

ผลการเบิกจ่าย

รวมแผนงาน   37.7130 ล้านบาท

เบิกจ่าย ไตรมาส 1     2.8209 ล้านบาท

 

ผลการดำเนินงาน 2561 : โครงการสร้างจิตสำนึกด้านการบริหารจัดการขยะน้ำเสีย พลังงานและความหลากหลายทางชีวภาพ

แผนงานบูรณาการ การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 

(กรมควบคุมมลพิษ เจ้าภาพแผนงานบูรณาการ)

ผลการดำเนินงาน

1. ครู นักเรียน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และชุมชน ได้รับความรู้ เกิดความเข้าใจ และสามารถดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างยั่งยืนด้านการจัดการขยะ และนำขยะมาใช้ประโยชน์ให้เป็นวิถีชีวิตตามหลักทฤษฏีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสมได้ ร้อยละ 80

2. ครูสามารถเขียนแผนบูรณาการสิ่งแวดล้อมศึกษาในสาระต่าง ๆ ด้านการจัดการขยะให้เป็นวิถีชีวิตตามหลักทฤษฏีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 70

3. มีโรงเรียนดำเนินการด้านโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียน Eco-school และโรงเรียนด้านการจัดการขยะตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทางได้ร้อยละ 70

4. มีการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียน โรงเรียนสีเขียวด้านพลังงาน การจัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 80

 

ผลสัมฤทธิ์รอบ 12 เดือน : ปริมาณขยะมูลฝอยมีการนำไปใช้ประโยชน์ 2,000 ตัน

 

ผลการเบิกจ่าย

รวมแผนงาน 20.0000 ล้านบาท

เบิกจ่าย 15.2366 ล้านบาท

คงเหลือ 4.7364 ล้านบาท

 

ผลการดำเนินงาน 2560 : โครงการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2560

นโยบายการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดให้มีการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประเด็นการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้าน
การบริหารจัดการขยะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในการให้ความรู้ สร้างเจตคตินำไปสู่การมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในด้านการจัดการขยะ มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่สำคัญใน 2 ประเด็นหลัก คือ การสร้างจิตสำนึกลดปริมาณขยะให้เหลือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวันการใช้ประโยชน์จากขยะ การสร้างจิตสำนึกและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีสถานศึกษาในสังกัดเข้าร่วมโครงการด้านการจัดการขยะ ตามหลัก 3Rs และตามแนวทางของโรงเรียนปลอดขยะตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแนวทางของโรงเรียน Zero Waste School จำนวน 17,498 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60.60 ส่วนสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมตามมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(EESD School) จำนวน 18,982 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.10

ด้านยุทธศาสตร์

โครงการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดให้การบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประเด็นการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในการให้ความรู้ สร้างเจตคติและมีจิตสำนึกที่ดี
ในด้านการขยะ 2 ประเด็นหลัก คือ การสร้างจิตสำนึกลดปริมาณขยะให้เหลือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และการนำขยะมูลฝอยนำกลับมาใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5.37 ล้านตัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินโครงการกิจกรรมในการปลูกฝังวินัยและจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและบริบท

ผลการดำเนินงาน

1. สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมตามมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (EESDSchool) รวม 18,982 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.10


2. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาจำนวน 3,798,444 คน คิดเป็นร้อยละ 62.65 และนักเรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (EESD School) จำนวน 2,853,315 คน คิดเป็นร้อยละ 75.12


3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการตามมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (EESD School) ในด้านต่างๆ ดังนี้
3.1 ด้านการจัดการขยะ ตามหลัก 3Rs ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและแนวทางของโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) จำนวน 17,498 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60.60
3.2 ด้านการจัดการพลังงาน (ลดใช้พลังงาน) จำนวน 1,894 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 74.95
3.3 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ความหลากหลายทางชีวภาพ) จำนวน2,038 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.02


4. เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในด้านการสร้างองค์ความรู้ สร้างจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะให้เหลือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในสถานศึกษาตามหลัก 3Rs ในสถานศึกษาทุกแห่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ด้านการลดใช้พลังงาน การจัดการขยะ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะและนำขยะมาใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา ต่อยอดโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (EESD School) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับครูศึกษานิเทศก์รวมทั้งกำกับ ติดตาม ผลสำเร็จของการดำเนินงานของโรงเรียนจากศูนย์การเรียนรู้ การลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. การดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการดำเนินการตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการสร้างจิตสำนึกการบริหารจัดการขยะ พลังงานความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานทั้ง 4 ด้าน โดยกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อการดำเนินงาน ตามแนวทางด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของโรงเรียน ตามแนวประชารัฐ “จังหวัดสะอาด” โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) จัดทำRoad Map การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ประชุมชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และครูผู้รับผิดชอบ เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านการจัดการขยะ น้ำเสียและมลพิษทางอากาศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำสถานศึกษาที่มีผลสำเร็จในการจัดการขยะ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูผู้เข้าร่วมการประชุม จัดอบรมสัมมนาบุคลากรในสถานศึกษามุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะ (Zero Waste School) ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายโรงเรียนสร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษาด้านการลด การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ และผู้เรียนนำไปขยายผลสู่ผู้ปกครอง ครอบครัวและชุมชน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล โดยการจัดทำป้ายนิเทศ ป้ายประชาสัมพันธ์ นิทรรศการ
และมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

แนวทางการพัฒนา

1. ประกวดนวัตกรรมและคัดเลือกสถานศึกษา เพื่อต่อยอดโรงเรียนปลอดขยะ
2. เปิดศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค
3. จัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Symposium เพื่อพัฒนาต่อยอด
4. ประกวดโรงเรียนต้นแบบ และโรงเรียนต้นแบบในการกำจัดขยะ โรงเรียนปลอดขยะ
5. ต่อยอดโรงเรียนโครงการค่ายเยาวชน รักษ์พงไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระดับประเทศ

ผลการเบิกจ่าย

รวมแผนงาน 152.090 ล้านบาท

เบิกจ่าย 109.066 ล้านบาท

คงเหลือ 43.024 ล้านบาท

Login