แยกขยะในสำนักงานนั้นสำคัญอย่างไร

            คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินงานพร้อมกันทั่วประเทศในการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมภายใต้โครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

มติคณะรัฐมนตรี

จากข้อมูลในปี 60 ทุกวันนี้คนไทยเกือบ 70 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 27.37 ล้านตัน หรือ 74,998 ตันต่อวัน ถ้าให้เห็นภาพก็คงเทียบเท่าได้กับขยะกองรวมกันสูงเท่าตึกใบหยก 2 จำนวน 140 ตึกเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหัวเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ  ชลบุรี นครราชสีมา สมุทรปราการ และขอนแก่น เพียง 5 จังหวัดสามารถสร้างขยะได้มากถึง 22,613 ตันต่อวัน เพียงแค่กรุงเทพฯ จังหวัดเดียวก็สร้างขยะไปกว่า 13,327 ตันต่อวันเข้าไปแล้ว

แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมี ไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากเราเพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มจากจิตสำนึกการลดขยะ และช่วยกันแยกขยะเพื่อการกำจัดที่ถูกวิธี เพียงเท่านี้จากกราฟของปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ก็อาจจะมีแนวโน้มลดลงได้ในปีต่อ ๆ ไป

การจัดการขยะมูลฝอย

การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลด คัดแยกขยะ การทิ้งขยะ การเก็บขยะไว้ในภาชนะ การเก็บรวบรวม เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการขนส่งนำไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดขยะที่ถูกหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของราชการ ทั้งด้านสุขอนามัย ทัศนียภาพ เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จึงได้มีการจัดแบ่งประเภทของขยะมูลฝอยและถังขยะ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและการควบคุมดูแลขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น โดยแบ่งประเภทได้ดังนี้

ขยะอินทรีย์  เป็นขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดย ได้จัดถังสำหรับแยกเศษอาหารไว้บริเวณอ่างล้างจาน เพื่อให้แม่บ้านนำไปเทรวมกับเศษอาหารจากโรงอาหาร ซึ่งจะมีคนมารับไปเป็นอาหารหมู

มีการแยกประเภทขยะรีไซเคิล ออกเป็น ขยะพลาสติก และขวดแก้ว กระป๋อง (โดยต้องทำการล้างให้สะอาดและผึ่งให้แห้งก่อนทิ้งลงถังสีเหลืองตามป้ายด้วยครับ

โครงการกล่องยูเอชทีรักษ์โลก ต้องไม่ต้องล้างกล่อง กดหลอดเข้าไปในกล่อง แล้วพับให้แบนตามแบบ เพื่อไม่ให้อากาศเข้า และบูดเน่า นำไปบริจาคในโครงการหลังคาเขียวได้ และมีการแยกประเภทกระดาษขาว และกระดาษสี เพื่อนำให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องเดิมอะลูมิเนียม เศษพลาสติก เศษโลหะ กล่องเครื่องดื่มยูเอชที โดยขยะรีไซเคิลจะทิ้งในถังขยะสีเหลือง

ขยะอันตราย เป็นขยะที่มีความเป็นอันตรายหรือมีส่วนประกอบเป็นสารที่มีอันตราย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่กระป๋องสเปรย์บรรจุสารเคมี ตลับหมึก หลอดไฟ น้ำายาล้างห้องน้ำา เป็นต้นขยะประเภทนี้ต้องมีการแยกทิ้งจากขยะประเภทอื่นๆ อย่างชัดเจน เนื่องจากต้องนำาไปกำาจัดหรือบำาบัดด้วยวิธีเฉพาะเพื่อป้องกันความเป็นพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมโดยขยะอันตรายจะทิ้งในถังขยะสีแดง โดยจัดให้ประจำชั้นละ 1 ถัง ในบริเวณอากาศถ่ายเทได้ดี และไม่อยู่ในจุดที่ใกล้กับบริเวณที่บุคลากรสัญจรไปมา ตั้งอยู่บริเวณชั้นลอย ขึ้นดาดฟ้า ทางฝ่ายบริหารทั่วไป

ขยะทั่วไป เป็นขยะอื่นนอกเหนือจากขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และ ขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำาหรับการนำากลับมา
ใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ถุงขนมขบเคี้ยว ซองบะหมี่กึ่งสำาเร็จรูป กระดาษห่ออาหารถุงพลาสติก กล่องโฟม หลอดกาแฟ ซองกาแฟ ซองครีมเทียม และซองน้ำาตาลเป็นต้น ซึ่งเป็นขยะที่ต้องนำาไปกำาจัดอย่างถูกต้อง อาทิ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การเผาในเตา โดยขยะทั่วไปจะทิ้งในถังขยะสีน้ำเงิน

Login