เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าพบนางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน งานพัฒนาและจัดทำ Smart Green Learning Room และงานปรับปรุง พัฒนา และจัดทำสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยทาง กฟผ. ได้นำเสนอ Timeline การดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ตั้งแต่ปี 2541 – 2567 ซึงแบ่งออกเป็น 3 รุ่นได้แก่
รุ่นที่ 1 Model and Sample การผลิตและการใช้ไฟฟ้า กลยุทธ์ 3 อ. ดำเนินการโรงเรียนทั่วประเทศ 344 แห่ง จัดทำ 5 ฐานการเรียนรู้ ระหว่างปี 2541 – 2562
รุ่นที่ 2 Model and Interactive Media นวัตกรรมพลังงานเกษตรสมัยใหม่ และ EGAT Virtua; Learning Center ดำเนินงานกับโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ 10 แห่งและโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม 1 แห่งรวม 11 แห่งจัดทำ 5-7 ฐานการเรียนรู้ ในปี 2563
รุ่นที่ 3 Interactive Media,Online Learning,IOT รหว่างปี 2564 – 2567 ดำเนินงานกับโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ 5 แห่งและโรงเรียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ กฟผ. ตามแผน PDP 6 แห่งรวม 11 แห่ง จัดทำ Co-Working Space ฐานการเรียนรู้ Smart Green Learning Room
โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่เสริมสร้างทัศนคติด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้ ห้องเรียนสีเขียว เป็นเครื่องมือสื่อสารกับเยาวชนและชุมชน ซึ่งการดำเนินงานห้องเรียนสีเขียว เป็นส่วนหนึ่งของ 3 กลยุทธิ์ ได้แก่
กลยุทธ์ 3 อ.
อุปกรณ์ อาคาร อุปนิสัย
กลุยุทธ์ Triple S
Sources trranformation ปรับเพื่อลด
Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน
Support Measures Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก
กลยุทธ์ สนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์และระบบส่ง กฟผ. ตามแผน PDP
อีกทั้ง กฟผ. ได้เสนองานปรับปรุง พัฒนา และจัดทำสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนในสังกัดภาครัฐ 329 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข่้อได้แก่
1. เพื่อปรับปรุงสื่อความรู้เดิมให้สอดคล้องกับยุคสมัย
2. เพื่อสื่อสารองค์ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วประเทศ ครอบคลุมโรงเรียนในโคงการและเครือข่ายทั่วประเทศ ผ่าน Website โครงการห้องเรียนสีเขียว